ข้อมูลตำบลวัดโบสถ์ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก
ประวัติความเป็นมา
อำเภอวัดโบสถ์ เป็นหนึ่งใน 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก เดิมเป็นตำบลหนึ่งในเขตการปกครองของอำเภอพรหมพิราม ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2491 ได้รับยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ และเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2499 ได้ยกฐานะเป็นอำเภอวัดโบสถ์ ของจังหวัดพิษณุโลก  เดิมนั้นตำบลวัดโบสถ์มีที่ตั้งอยู่บริเวณหัวสะพานวัดโบสถ์ เรียกว่า ศาลแขวงหรือที่ทำการแขวง แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า ท่าศาล มีหน้าที่เก็บภาษีอากรของท้องที่ ขึ้นตรงต่ออำเภอพรหมพิราม เดิมนั้นที่ว่าการอำเภอมีที่ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 4 ตำบลวัดโบสถ์ ต่อมาประชากรเพิ่มขึ้น ทำให้การบริการประชาชนไม่สะดวก สถานที่คับแคบ จึงได้ย้ายไปอยู่  ที่ว่าการอำเภอแห่งใหม่ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2534 ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลวัดโบสถ์ ริมถนนพิษณุโลก-เด่นชัย อำเภอวัดโบสถ์เป็นถิ่นที่อยู่แห่งหนึ่งของปูเจ้าฟ้า ซึ่งเป็นปูหายากชนิดหนึ่งในเมืองไทย

ผู้นำชุมชน

นายสราวุฒิ  จันทรวงศ์  นายอำเภอวัดโบสถ์
สถาบันการศึกษา

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39

  • โรงเรียนคันโช้งพิทยาคม
  • โรงเรียนวัดโบสถ์ศึกษา                                                                                                                                    จำนวนประชากร
  • 1. จำนวนประชากรทั้งสิ้น
    รวม 37820  คน
    2. จำนวนประชากรชาย
    รวม 18,720  คน
    3. จำนวนประชากรหญิง
    รวม 19,100 คน
    4. ความหนาแน่นของประชากร
    คน/ตร.กม.


    พื้นที่
    เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม  

     

    ที่ตั้งและอาณาเขต

    อำเภอวัดโบสถ์ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 53 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
    • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอพิชัย อำเภอทองแสนขัน (จังหวัดอุตรดิตถ์) และอำเภอชาติตระการ
    • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอชาติตระการและอำเภอวังทอง
    • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองพิษณุโลก
    • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพรหมพิราม

      การแบ่งเขตการปกครอง

      การปกครองส่วนภูมิภาค

      อำเภอวัดโบสถ์แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 61 หมู่บ้าน ได้แก่
      1.
      วัดโบสถ์
      (Wat Bot)
      10 หมู่บ้าน
      2.
      ท่างาม
      (Tha Ngam)
      13 หมู่บ้าน
      3.
      ท้อแท้
      (Thothae)
      8 หมู่บ้าน
      4.
      บ้านยาง
      (Ban Yang)
      11 หมู่บ้าน
      5.
      หินลาด
      (Hin Lat)
      9 หมู่บ้าน
      6.
      คันโช้ง
      (Khan Chong)
      10 หมู่บ้าน

       

      การปกครองส่วนท้องถิ่น

      ท้องที่อำเภอวัดโบสถ์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
      ·         เทศบาลตำบลวัดโบสถ์ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลวัดโบสถ์ ตำบลท่างาม และตำบลท้อแท้
      ·         องค์การบริหารส่วนตำบลวัดโบสถ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดโบสถ์ (นอกเขตเทศบาลตำบลวัดโบสถ์)
      ·         องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่างาม (นอกเขตเทศบาลตำบลวัดโบสถ์)
      ·         องค์การบริหารส่วนตำบลท้อแท้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท้อแท้ (นอกเขตเทศบาลตำบลวัดโบสถ์)
      ·         องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านยางทั้งตำบล
      ·         องค์การบริหารส่วนตำบลหินลาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหินลาดทั้งตำบล
      ·         องค์การบริหารส่วนตำบลคันโช้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคันโช้งทั้งตำบล

       

      อาชีพ

      อาชีพหลัก ได้แก่  ทำนา และทำไร่

      อาชีพเสริม ได้แก่  จักสาน, ทอผ้า และเลี้ยงสัตว์
      การเดินทาง
      1. จาก อ.เมือง จ. พิษณุโลก เดินทางเส้นถนน พิษณุโลก-เด่นชัย ระยะทาง 25 ก.ม.
      2. จาก อ.เมือง จ. พิษณุโลก เดินทางเส้นถนน พิษณุโลก-วัดโบสถ์ (แควน้อย) ระยะทาง 30 ก.ม.
      3. จาก อ.เมือง จ. พิษณุโลก เดินทางเส้นถนน สะโคร่-วัดโบสถ์ ระยะทาง 20 ก.ม. (ถนนทางหลวงชนบท) 
    • สถานที่ท่องเที่ยว
      อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว

    • อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว แต่เดิมมีฐานะเป็นเพียงวนอุทยานแก่งเจ็ดแคว แต่จากการสำรวจในปีพ.ศ. 2537 ของกรมป่าไม้พบว่าธรรมชาติและพื้นที่โดยรอบมีความอุดมสมบูรณ์และควรค่าแก่การอนุรักษ์ กรมป่าไม้จึงรวบรวมพื้นที่ในเขตวนอุทยานแก่งเจ็ดแควและวนอุทยานภูแดงร้อน จัดเป็นอุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแควขึ้นมาใหม่ โดยครอบคลุมพื้นที่อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอชาติตระการ อำเภอนครไทย และอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก รวมพื้นที่ทั้งหมด 163,125 ไร่ หรือ 261 ตารางกิโลเมตร โดยมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ คือการล่องแก่งบนสายน้ำแควที่ผ่านแก่งต่างๆ อันงดงาม เช่น แก่งเจ็ดแคว ลักษณะเป็นแนวหินในลำน้ำแควน้อย โดยมีสันดอนขวางกั้นกลางน้ำ ทำให้เกิดเส้นทางขึ้นเป็น 7 สาย ในช่วงฤดูน้ำหลาก กระแสน้ำจะมากและรุนแรงส่งเสียงดังตลอดเวลา ส่วนในช่วงแล้งน้ำจะน้อยแต่ใสสะอาดสวยงามไปอีกแบบ นอกจากแก่งเจ็ดแควแล้ว บนลำน้ำแควน้อยยังมีแก่งอีกมากที่ให้ความตื่นเต้นในการล่องแก่ง ไม่ว่าจะเป็น แก่งคันนาน้อย แก่งเตาเหล็ก แก่งบัวคำ และแก่งลานกลอย นอกจากนี้ภายในอุทยานฯ ยังมีจุดชมทิวทัศน์บ้านหนองหินที่สามารถชมผืนป่าโดยรอบของอุทยานแก่งเจ็ดแควได้อย่างดี หรือไปชื่นชมน้ำตก 5 ชั้น และน้ำตก 9 ชั้น ก็นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจเช่นกัน    เขตห้ามล่าสัตว์ เขาน้อย – เขาประดู่
    • เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาน้อย-เขาประดู่ มีพื้นที่กว่า 80,900 ไร่ ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2541 ที่ตั้งสำนักงานเขตฯ อยู่ที่บริเวณบ้านป่าคาย หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านนายาง อำเภอวัดโบสถ์ ห่างจากตัวเมือง 45 กิโลเมตร การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับอุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว จากพิษณุโลกเดินทางไปอำเภอวัดโบสถ์ใช้ทางหลวงหมายเลข 12 ระยะทาง 6 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 11 อีก 25 กิโลเมตร ก่อนขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำแควน้อย มีทางแยกไปบ้านนาขามตามทางหลวงหมายเลข 1220 อีก 8 กิโลเมตร มีป้ายบอกทางเข้าเขตห้ามล่าฯ อีก 6 กิโลเมตร เป็นทางลูกรังและมีจุดที่ต้องขับผ่านธารน้ำไหล จำเป็นต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อในฤดูฝน
      เขาน้อย-เขาประดู่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 100-500 เมตร ประกอบด้วยป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และทุ่งหญ้า มีความหลากหลายทางด้านพืชพรรณ มีดอกไม้ตามฤดูกาลที่สวยงามคือดอกกระเจียวและกล้วยไม้ และยังเป็นแหล่งค้นพบปูพันธุ์ใหม่ ที่เรียกว่า ปูแป้ง หรือ ปูสองแคว ซึ่งพบเฉพาะในฤดูฝน เหมาะแก่การท่องเที่ยวทัศนศึกษาเชิงนิเวศ ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม
      ผู้สนใจเดินเท้าตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่ทางเขตฯ ได้ทำไว้หรือติดต่อพักแรม สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานเขตได้โดยตรงหรือติดต่อล่วงหน้าที่ สำนักงานเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาน้อย-เขาประดู่ หมู่ 2 ตำบลบ้านยาง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก 65160 
    • เขื่อนแควน้อย

                                             โครงการเขื่อนแควน้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีเป้าหมายหลักเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย โดยเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดใกล้เคียง รวมถึง ยังจะเป็นแหล่งน้ำสนับสนุนให้กับพื้นที่ชลประทานฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของแม่น้ำแควน้อย ส่งน้ำเสริมให้กับพื้นที่เพาะปลูกของโครงการเจ้าพระยาใหญ่ เป็นแหล่งน้ำใช้ในการเกษตร การอุปโภค บริโภค  นอกจากนี้ ยังได้สร้างเขื่อนทดน้ำพญาแมน เพื่อช่วยยกระดับน้ำเข้าคลองชลประทาน ส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร 4 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก คือ อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอพรหมพิราม อำเภอวังทอง และอำเภอเมือง 

                เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2552  นายชูชาติ ฉุยกลม ผู้อำนวยสำนักก่อสร้าง 2 โครงการเขื่อนแควน้อย จ.พิษณุโลก เปิดเผยว่า สำนักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวัง ได้ส่งหนังสือ เลขที่ รล.005.2/13227 
    • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเขื่อนแควน้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็น เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ซึ่งหมายถึง "เขื่อนแควน้อยที่ทำให้มีความเจริญขึ้นในเขตพื้นที่" สำหรับเขื่อนทดน้ำพญาแมน ทรงพระราชดำรัสเห็นควรให้ใช้ชื่อเดิม
                      การก่อสร้างเขื่อนแล้วเสร็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเริ่มการเก็บกักน้ำ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2551
      ทางองค์การบริหารส่วนตำบลคันโช้ง ได้ร่วมกับเขื่อนแควน้อย ขอเปิดบริเวณท้ายเขื่อน เพื่อให้ประชาชนได้มาท่องเที่ยวที่บริเวณหน้าเขื่อนแควน้อย แล้วได้เล่นน้ำที่เขื่อนแควน้อย เปิดระบายน้ำออกทุกวัน เพื่อเป็นรักษาสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศของน้ำในเขื่อนแควน้อย ล่าสุดในวันนี้ทางเขื่อนได้ปล่อยน้ำ 5.18 ล้านลูกบาศกเมตร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ตามแผนของกรมชลประทาน ที่กำลังระบายน้ำช่วยเหลือเกษตรกร ให้นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสกับบรรยากาศ และเล่นน้ำได้อย่างสนุกสนาน โดยนักท่องเที่ยวต่างนำเสื่อ ข้าวปลา อาหาร ส้มตำ มานั่งกินและเล่นน้ำกันอย่างสนุกสนาน นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการนำล่องแพยาง มาบริการนักท่องเที่ยวที่ชอบล่องแก่ง อีกด้วย                                              พระบรมสารีริกธาตุ วัดเสนาสน์
                                                      ชาวบ้านเล่าว่าเดิมวัดเสนาสน์เริ่มสร้างพร้อมกับวัดโบสถ์  ตำบลวัดโบสถ์  อำเภอวัดโบสถ์  จังหวัดพิษณุโลก  วัดทั้งสองมีการแข่งขันกันสร้างวัด  ถ้าวัดใดสร้างเสร็จก่อนให้ตีกลองแสดงว่าสร้างเสร็จ  วัดนั้นจะได้พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าและพระศาสดาสาวกของพระพุทธเจ้าไปประดิษฐานเป็นมิ่งมงคลของวัด วัดเสนาสน์จึงได้ทำอุบาย ใช้ผ้าขาวมุงหลังคาเสร็จได้ลั่นกลองดังสนั่นแสดงว่าสร้างวัดเสร็จก่อน วัดเสนาสน์จึงได้พระบรมสารีริกธาตุไปเก็บรักษาไว้


      ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุ
       วัฒนธรรมประเพณี

                                                          ในสมัยโบราณประชาชนในจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดใกล้เคียงรู้จัก วัดเสนาสน์เพราะงานสรงน้ำพระบรมธาตุ   ซึ่งเป็นงานที่ใหญ่โตมาก

                   ส่วนใหญ่ในช่วงก่อนเทศกาลตรุษ 2 – 3 วัน จะมีประเพณีบวชนาคหมู่ มีงานฉลอง ทำบุญตรุษ  และงานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุติดต่อกันไปการสรงน้ำพระบรมธาตุจัดขึ้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 อันเป็นวันสุดท้ายของงาน ผู้สูงอายุมักเดินทางไปยังวัดเสนาสน์ตั้งแต่ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 4 พักค้างคืนเพื่อปฏิบัติธรรมที่วัด ในตอนเช้าวันรุ่งขึ้นคือวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ก็ร่วมทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา  และร่วมสรงน้ำพระบรมธาตุแล้วจึงเดินทางกลับ เพื่อไปร่วมงานประเพณีที่วัดโบสถ์ต่อไป  สำหรับคนหนุ่มคนสาวที่ยังแข็งแรงจะเดินทางไปวัดเสนาสน์ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ร่วมสรงน้ำพระบรมธาตุและดูการละเล่นแล้วจึงเดินทางกลับ ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 นี้เองทางวัดโบสถ์ก็จัดงานประเพณีประจำปีของวัดต่อทันที ประชาชนก็จะเดินทางไปร่วมงานบุญที่วัดโบสถ์ต่ออีกงานหนึ่งการที่วัดโบสถ์จัดงานต่อจากวัดเสนาสน์เนื่องจากเป็นการให้เกียรติที่ วัดเสนาสน์เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ จึงให้วัดเสนาสน์จัดงานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุก่อน เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
    • แข่งเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทาน ณ ลำน้ำแควน้อย อ.วัดโบสถ์

                                                                 เพื่ออนุรักษ์และสืบสานประเพณีอันดีงามของชาวอำเภอวัดโบสถ์ ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมแห่งลำน้ำแควน้อยของชาวอำเภอวัดโบสถ์ ให้อนุชนรุ่นหลังได้สืบสานต่อ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภอวัดโบสถ์อีกทางหนึ่ง ซึ่งการแข่งขันเรือยาวประเพณีดังกล่าวเทศบาลตำบลวัดโบสถ์ ร่วมกับวัดท่างาม อำเภอวัดโบสถ์ กองพันทหารสื่อสารที่ 4 และประชาชนในชุมชน ได้ร่วมกันจัดขึ้น สำหรับในปีนี้การแข่งขันจะเป็นการแข่งเรือยาวประเภท 12 ฝีพาย แข่งแบบพบกันหมด เพื่อเก็บคะแนน และหาผู้ที่มีคะแนนเป็นลำดับที่ 1 และ 2 นำมาแข่งเพื่อชิงถ้วยพระราชทานฯ ต่อไป

      ผลิตภัณฑ์
                                                 น้ำตาลสด

      ผลิตภัณฑ์น้ำตาลสดของกลุ่มได้รับเครื่องหมายรับรองคุณภาพ อย. เลขที่ พล.ฉผด.๖/๒๕๔๓  จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  กระทรวงสาธารณสุข โดย กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรขวัญใจพัฒนา  หมู่ที่ 3 ตำบลท้อแท้  อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก



       อ้างอิง
      วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี.  (27 ม.ค. 2558).  อำเภอวัดโบสถ์.  (ออนไลน์).  แหล่งที่มา :                    https://th.wikipedia.org/wiki/อำเภอวัดโบสถ์. (วันที่สืบค้นข้อมูล 29 กันยายน 2560).
      ศูนย์บริการข้อมูลอำเภอ. (2558). ข้อมูลอำเภอวัดโบสถ์. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.amphoe.com/menu.php?am=420&pv=36. (วันที่สืบค้นข้อมูล 29 กันยายน 2560).
      วิสาหกิจชุมชน.  (2558).  ผลิตภัณฑ์ของอำเภอวัดโบสถ์(ออนไลน์)แหล่งที่มา:          http://smce.doae.go.th/ProductCategory/managecontent.php?smce_id=665070310004.              (วันที่สืบค้นข้อมูล 29 กันยายน 2560).
      พันทิป.  (ม.ป.ป.).  เที่ยวสบายสไตล์วัดโบสถ์.  (ออนไลน์).  แหล่งที่มา : https://pantip.com/topic/35365722. (วันที่สืบค้นข้อมูล 29 กันยายน 2560).



ความคิดเห็น